Sunday, August 31, 2008

X-BB GUN-Safety2



Air Rifle, BB and Pellet Gun Safety To help make your air gun shooting experience safe and enjoyable, we've put together some tips that will put you right on target. If this is your first BB or pellet gun, sit down with your parents and discuss under what circumstances the gun can be handled. Whenever you shoot always have adult supervision. Rules for Safe Gun Handling Three basic rules apply whenever you are handling a gun -- under any circumstances. Rule No. 1 is the "Golden Rule of Gun Safety." • Always point the gun in a safe direction. Never point the BB or pellet gun at yourself or others. Common sense should dictate which direction is the safest. It is generally safest to point your gun upward or downward. Rule No. 2• Keep your finger off the trigger until you are ready to shoot. There's a natural tendency to place your finger on the trigger when picking up or handling a gun. Don't do it! That's what trigger guards are made for. They let you hold the gun comfortably with your finger off the trigger. Rule No. 3• Know how the rifle operates. Before handling a gun, learn how it operates. This includes knowing its basic parts, how to safely load and unload and how to safely remove BB's or pellets from the gun. Also, remember that a gun's mechanical safety device is never foolproof. The gun safety can never replace safe gun handling. Rules for Safe Gun Shooting When shooting -- these basic rules must always be followed: Be sure of your target -- and what's beyond. Be absolutely sure that you have identified your target without any doubt. Make sure the target can't cause ricochets. Equally important, be aware of the area beyond your target. This means looking to see where your BB or pellet will go before you shoot. Never shoot in a direction in which there are people. Check for other potential accidents. It's simple: Think first! Shoot second! Always wear eye protection Your eyes are important to your well-being. Don't mix alcohol or drugs with shooting. Alcohol and other substances likely to impair normal mental or physical functions should not be used before shooting or while handling guns. Don't reuse BB's or pellets.They can become deformed and damage your gun or cause an accident. Remember other conditions may require additional safety rules. Whenever you shoot a BB or pellet gun it is essential that you use a safe shooting range. A safe range can be set up in many places: in your home, backyard, school, recreation center or church. To have a safe range three things must be present: Safe Area - Whether in a basement, hall or room be sure your range is set up so no one can accidentally walk in front of the firing line. Indoors, make sure doors and side windows are locked. In the back-yard, always shoot in a safe direction. In either case, never point the gun toward windows or where people might walk. Safe Distance - Have at least 15 feet between the shooter and the target. Safe Backstop - A backstop to trap your BB's or pellets and hold your target can be easily made from a large cardboard box or check out Air Rifle USA back stops and Target Accessories. Additional tip:Always clean up your used targets and any other trash you might have used. PARENTSYou are responsible for insuring that your children are taught about gun safety and for supervising their shooting activities. Before allowing your youngsters to handle a gun, be sure they know how and understand the rules. Air Rifle USA has all the Products that you would need, to have a fun time.

Cleaning & Maintenance BasicsFirst and foremost,read and understand the manufacture's instructions for both cleaning and maintenance and for safe operation of any airgun. Be Sure The Air Gun IS Not Loaded or Cocked before Cleaning. Quality airguns require only a small amount of routine maintenance: however, proper care is important. Lubicants like Chamber Lube and Spring Oil are literally used only 2 or 3 drops at a time, following the manufacture's instructions. Over-lubrication as well as lack of lubrication can lead to a decrease in the satisfactory service life of a fine airgun. DO NOT use regular oils in the Air Compression Chamber or Mainspring area - use only approved lubicants. Never dry-firean airgun (fire without a pellet in place) unless the manufacture specifically approves. When in Doubt, assume an Emphatic NO!! Look in Air Rifle USA Accessories for the best in cleaning supplys.


------------------------------------------------------------------

------------------------------------------------------------------

X-BB GUN-Safety1

Recommended Air Soft Safety Equipment


Snell Rated Full Faced Motorcycle Helmet.

Double Thick Face Shield.

Helmax Weather Guard 415-752-3200.

Football Shoulder/Arm Guards.

Hockey Elbow & Midarm Gaurds.

Bullet Proof Vest w/steel insert.

Hard Plastic Street Hockey Hip Guards.

Hockey Forearm Guard.

Heavy Leather Gloves. (Isotoners are OK.)

Hockey Knee Guards.

Hockey Shin Guards.

Steel Toed Combat Boots.
Under All This... Foam Padded One Piece.


Never Shoot At Any Thing Other Than An Official MFI Safety Target. We have been dealing in airsoft items since 1985. We test everything we sell and sponsor games worldwide. The protective gear above covers areas of concern in regards to safety which, we are required by our contracts with the Federal Government to mention in order to sell airsoft to the general public. As the real danger is mistaken identity of airsoft for a real weapon the suggested (not required) gear would stop a 308 bullet fired from and Police Sniper rifle at 250 meters. Your exact application of the specific air soft gun will determine what gear you need. Please be safe and enjoy all shooting sports as they were intended to be.

WARNING - DANGER - READ THIS & HEED THIS!
WARNING: THIS IS NOT A TOY. THIS AIR GUN IS DESIGNED FOR USE BY EXPERIENCED SHOOTERS AND IS INTENDED FOR USE BY AN EXPERT IN FIREARMS. THIS AIR GUN IS INTENDED FOR USE SOLELY IN CONNECTION WITH SPORTING, WEAPONS TRAINING, IN THEATRICAL OR PROFESSIONAL FILM PRODUCTION ( WITH NECESSARY SAFETY EQUIPMENT ). NO OTHER USE IS INTENDED OR RECOMMENDED. ILLEGAL TO OPERATE, OWN, PURCHASE OR TRANSFER BY ANYONE UNDER 21 YEARS OF AGE OR OUTSIDE THE TERMS AFOREMENTIONED.. MISUSE OR CARELESS USE MAY CAUSE SERIOUS INJURY, PARTICULARLY TO THE EYE AND CAN EVEN CAUSE DEATH. DANGEROUS UP TO 550 YARDS ( 500 METERS ). READ OWNERS MANUAL BEFORE USING.


------------------------------------------------------------------
Reference : http://www.mfiap.com/
------------------------------------------------------------------

X-BB GUN เพื่อความปลอดภัย


แนวทางการปฏิบัติ การนำพาปืน BB ไปที่สนาม รวมทั้งหลักการเล่น(สำหรับมือใหม่)


หัวข้อนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการแนะแนวผู้ที่เล่น BB GUN หรือ กำลังที่จะก้าวเข้ามาเล่น BB GUN ได้รู้เรียนถึง
หลักการที่ถูกต้อง เพื่อประโยชน์แนวทางในการศึกษา
การนำพา BB GUN อย่างไรเมื่อจะเดินทางไปที่สนาม


1. ควรที่จะมี กระเป๋า หรือ กล่องใส่ BB GUN ให้เรียบร้อย หรือถ้าไม่มีก็สามารถใช้กล่องที่มากับปืน BB GUN ก็ได้
ไม่ควรที่จะถือ ตัวปืน BB GUN มาเปล่า ๆ โดยไม่มีอะไรปกปิดหรือแสดงให้ผู้คนอื่นเห็นอย่างชัดเจน


2. ให้แยกแมกกาซีน พร้อมทั้งลูก BB ออกจากกัน โดยที่ตัวแมกกาซีนไม่ควรที่จะบรรจุ ลูก BB ขณะนำพามาที่สนาม


3. แบตเตอร์รี่ ไม่ควรที่จะใส่ไว้ในตัวปืน BB GUN และควรที่จะ SAVE ตัวปืนของ BB GUN ในลักษณะที่ไม่สามารถ
เหนี่ยวไกรได้


4. ตัวปืนของ BB GUN ควรที่จะมีปลอกหุ้มปากกระบอกปืนไว้ตลอดเวลา หรือ ตัวครอบพลาสติกสีส้มที่ตอนซื้อมา
พร้อมกํบ BB GUN


5. ถ้าเป็นกระเป๋า หรือ กล่องใส่ BB GUN ควรหาแม่กุญแจล็อกซะให้เรียบร้อย เพื่อความปลอดภัย ในเวลาเดินทาง
มาที่สนาม


การแต่งตัวชุดต่าง ๆ เมื่อจะมาในสนาม


เป็นที่รู้กันว่า การเล่น BB GUN นั้นการแต่งตัวไม่ว่าจะเป็นชุด ทหาร สวาท หรือชุดอะไรก็ตาม ไม่ควรที่จะแต่งตัว
ออกจากบ้านมา ควรนำมาแต่งที่สนามเท่านั้น ส่วนเสือ VET ต่าง ๆ ไม่ควรที่จะนำไว้หน้ารถหรือ แขวนไว้ตรงหลังรถ
เพราะจะทางให้เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ที่กำลังปฏิบัติงาน สับสนได้ ควรนำทุก ๆ อย่างไว้หลังกระโปรงรถ รวมทั้งปืน BB
GUN ด้วย
ข้อควรปฎิบัติหลักการปลอดภัยเมื่ออยู่ตรงห้องพัก ของ BB GUN
ในหัวข้อนี้เน้นถึงความปลอดภัยมาก เนื่องจาก บริเวณที่พักของผู้เล่นจะไม่มีอุปกรณ์ ใด ๆ ป้องกันตัว ฉนั้นหาก
ประมาท จะมีอันตรายมาก จึงควรเน้นเรื่องนี้ให้เป็นกรณีพิเศษ ..... แนวทางปฎิบัติมีดังนี้.


1. เมื่ออยู่ในส่วนที่เป็นบริเวณที่พักของผู้เล่นทุก ๆ คนนั้น ไม่ควรที่จะ เล็งปืนไปในทิศทางใด ๆ ไม่ว่าบริเวณนั้นจะมี
ผู้คนนั่งอยู่หรือไม่ก็ตาม


2. ไม่ควรที่จะยิงปืนบริเวณหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของส่วนตรงที่พักผู้เล่น ไม่ว่าตัวปืนนั้น จะมี ลูกหรือไม่ก็ตาม หรือแม้
กระทั่งทดลองยิงเพื่อฟังเสียงของปืน พึ่งนึกอยู่เสมอว่า ปืนนั้นมีลูกอยู่ตลอดเวลา


3. ควรที่จะปลดแมกกาซีน พร้อมทั้งยิงแห้งไปประมาณ 2 ครั้งเพื่อเคลียดลูกที่ค้างอยู่ในลำเพลิงของปืน แล้วทำการ
SAVE ปืน ให้เรียบร้อยก่อนที่จะเข้ามาพักในส่วนที่ห้องพักของผู้เล่น


4. ตัวปากกระบอกปืนควรที่จะมี ปลอกหุ้มปากกระบอกปืน หรือ ตัวปลอกสีส้มที่มีมาพร้อมกับปืน ให้ปิดที่ตรง
ปากกระบอกปืนเสมอ เมื่ออยู่ที่ห้องพักของ ผู้เล่น


5. ถ้าจะลองปืนไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม ควรไปลองตรงจุดที่ทางสนามเตรียมไว้สำหรับการลองปืน เท่านั้น
หลักการเล่นกีฬา BB GUN นั้น


กีฬา BB GUN นั้นเป็นกีฬาที่ แสดงถึง ความมี Spirit ของตัวเองอย่างเต็มตัว ต่าง ๆ จากการเล่นกีฬา ต่าง ๆ ซึ่งเมื่อ
คุณถูกยิง จะไม่มีใครเห็น หรือ รู้ ว่าคุณถูกยิง นอกจากตัวคุณเอง ฉะนั้นถ้าคุณมี ความเป็น Spirit ในตัวคุณเองเมื่อ
ถูกยิงก็ควรที่จะออกจากสนาม กีฬานี้ถึงจะสนุก ถ้าคุณเล่นอยู่แล้วเกิดถูกยิงขึ้นมา แต่คุณไม่ออก ก๊ฬาประเภทก็ไม่มี
ความหมายอะไร ฉนั้นถึงอยากจะพูด กีฬานี้เป็นการวัดใจตัวคุณเอง โกหกทุก ๆ คนได้ แต่ เชื่อไม๊ ว่า คุณโกหกตัว
เองไม่ได้ มันหนีไม่พ้น แล้วอย่างงี้ตัวคุณจะมี Spirit ได้อย่างไร .....
การเล่นกีฬาชนิดนี้ จะแพ้หรือ ชนะ อยู่ที่ใจคุณเอง แพ้ในเกมส์ แต่คุณ ชนะในตัวคุณเอง ถ้าคุณเน้นเรื่อง Spirit " จะ
เดินออกจากสนามอย่าง เสือ ผู้มี Spirit หรือ จะอยู่ในสนาม โดยที่มีแต่คนคอยประนาม คุณ ว่า เหนียว " ตรงจุดนี้
คุณเท่านั้นที่เป็นผู้กำหนด
หลักความปลอดภัยเมื่อถูกยิง และเดินออกจากสนาม.


1. ในระหว่างการเล่น เมื่อคุณถูกยิง ควรที่จะยกปืนขึ้นเหนือ ศรีษะ เรา พร้อมทั้ง ตะโกนว่า โดนแล้ว


2. การเดินออกจากสนาม ควรที่จะเดินในทางด้านข้างของสนามทุก ๆ มุม เพื่อป้องการถูกยิง ซ้ำ โดยที่ ฝั่งตรงข้าม
บางครั้งไม่สามารถมองเห็น


3. ไม่ควรเดินตัดสนามเมื่อโดนยิง อาจโดนลูกหลงได้ใน ขณะผู้เล่นคนอื่นกำลังเล่นอยู่


4. ไม่ควรถอดหน้ากากป้องการ หรือ ส่วนป้องการใด ๆ ในร่างกาย ออก ก่อนที่จะพ้นสนาม และเข้ามาตรงส่วนที่จะ
เข้าถึงห้องพัก เพราะ ลูก BB อาจยิงมาถึงเราได้


5. เมื่อตัวเองถูกยิงออก ให้เดินออกจากสนาม ไม่ควรบอกตำแหน่งผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามให้กับฝั่งผู้เล่นของเรา ได้รู้ถึง
ตำแหน่ง ใด ๆ ก็ตาม เพื่อความ ยุติธรรม ของ กีฬา นี้


หัวข้อที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด นี้ ทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่เล่นอยู่แล้วอาจลืมไปบางสิ่ง หรือ ผู้ที่กำลังจะก้าวเข้ามาเล่นกีฬา BB
GUN ได้ศึกษาและนำไปใช้ให้ถูกต้อง กีฬา ประเภทนี้ ก็จะ ปลอดภัย และ สนุกกับมันได้เต็มที่ พึงจำไว้เสมอว่า
ความปลอดภัย ทุก ๆ อย่าง นั้น ขึ้นอยู่เพียงแค่ คุณ ทุก ๆ คน ถ้าปฏิบัติตามกฏอย่าง เคร่งคัด ความปลอดภัยก่อจาก
เกิดกับตัวเรา และ ผู้อื่น ......


------------------------------------------------------------------------

ที่มา : http://www.battlebb.com/

------------------------------------------------------------------------




X-BB GUN














เนื่องจากตอนนี้B.B. Gunได้เริ่มแพร่หลายในรั่วม.เราแล้วนะครับ จึงอยากให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมหรือส่วนเกี่ยวข้องกับบีบีทุกคนได้อ่านและปฏิบัติตามนี้ เพื่อที่กีฬาอันเป็นที่รักยิ่งของผม ต้องถูกผู้ใหญ่เพ่งเล็งน่ะครับ
เนื่องจากไปดึงของปืนจริงมา จะเอาข้อที่ผมคิดว่ามันไม่เกี่ยวกับ BB ออกไปแล้วกันนะครับ
General Cautions ข้อระวังทั่วไป
1. เจ้าของปืนต้องฝึกใช้ปืนอย่างถูกต้อง และฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ
2. เก็บปืนให้พ้นจากบุคลที่ใช้ปืนไม่เป็น
3. เก็บรักษาปืนและกระสุนให้ถูกวิธี
4. อย่าล้อเล่นว่าจะใช้ปืนทำร้ายผู้อื่น
5. ผู้ใช้ปืนเป็นผู้รับผิดชอบการกระทำทุกอย่างของตน มิใช่อุปกรณ์รับผิดชอบการกระทำของมนุษย์
Handling การถือและบริหารกลไกปืน
1. ตรวจสอบปืนทุกกระบอกเสมือนว่ามีกระสุนบรรจุอยู่
2. อย่านำนิ้วเข้าโกร่งไกจนกว่าจะชี้ปืนไปที่เป้าหมายและพร้อมที่จะยิง และควรถือปืนในลักษณะให้ปลายปากกระบอกปืนชี้ลงดิน
3. อย่าชี้ปืนไปที่บุคคลใดที่ท่านไม่ต้องการยิง ถึงแม้วจะเป็นปืนที่ไม่ได้บรรจุกระสุนก็ตาม
4. ส่งและรับปืนในจังหวะกลไกปลอดภัยที่ปืนไม่สามารถยิงได้เท่านั้น
5. อย่าแสดงปืนในที่สาธารณะในสถานการณ์ปรกติ
6. อย่าตะครุบปืนที่กำลังร่วงหรือไถลบนพื้น
7. ใช้ปืนยิงเท่านั้น อย่าใช้ปืนทุบหรือตี
Transporting การพกพา
1. อย่าแสดงตนว่าท่านมีปืนเพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสถูกโจรกรรม
2. อย่าใส่ปืนในซองเป็นเวลานานหรือใช้ผ้าห่อปืนเพื่อป้องกันความชื้นที่ผิวปืน
---------------------------------------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------------------------------------

Saturday, August 30, 2008

สนามแบดมินตัน


สนามแบตมินตัน


----------------------------------------------------------------------------------------


59 Sport Club 262/7 เพชรเกษม59 บางแค
02-801-4172; 02-456-0317

71 สปอร์ตคลับ แยกซอยขุนวิจิตร ในซอยสุขุมวิท 71
02-391-6773

99 สปอร์ตคลับ สุขุมวิท 99
02-311-1441

.หรรษา เพชรเกษม 61
02-420-9168

ม.ท.บ.11 ถ.พระราม 5
02-241-3031-2


เย็นอากาศ 119/6 ซอย 2 เย็นอากาศ ช่อง_นนทรี ยานนาวา กทม 10120
02-249-6935-6


แร๊กเกตคลับ ถ.สุขุมวิท 49
02-391-0963


โยธี ซ.โยธี ถ.พหลโยธิน 2
02-246-1178


เสสะเวช จรัญฯ 9
02-411-1506


เสถียรสุต จรัญฯ 40
02-466-0444


เสนานิคม ลาดปลาเค้า
02-570-7580


เอ็นพี (NP) เรวดี, สนามแบดมินตัน 1 24/469 ซ.เนียมเปรม (หลังตลาดเปรมสุข)
ถ. เรวดี ต.ตลาดขวัญ อ. เมือง จ.นนทบุรี
02-9516854


เอส.ที. สนามแบดมินตัน 130/5 ซ.วัดบางสะแก (เทอดไท 33) เขตธนบุรี กทม
02-465-9863-6


เอสคอร์ท (หนามแดง) 44 หมู่2 ถนนหนามแดง-บางพลี
ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540
02 7387995-6


มายเฮ้า (MY HOUSE) 57 ถ.บรมราชชนนี ตลิ่งชัน
02-8807026*0


รามอินทรา67 ซ.รามอินทรา67
02-9458928, 02-9458929


รามา คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดี
02-246-1073-87


มารีน่า เจริญนคร
02-428-1639


ราชวิถี รพ.ราชวิถี
02-354-8108


ราชกรีฑาสโมสร ถ.อังรีดูนังต์
02-255-1420-8


ภาณุวิลล่า ถนนสิรินธร ก่อนถึง ยู-เทริ์น สายใต้ใหม่เล็กน้อย
02-434-3610


รินรดา สี่แยกถนนกรุงเทพกรีฑา ตัดกับ ถนนศรีนครินทร์ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ
02-7317519


เกษมสุวรรณ สุขุมวิท 50 ติดทางด่วน
02-311-1378


แขมป์ (CHAMP), สนามแบดมินตัน 3627/3 ถนน เจริญราษฎร์ แขวงบางโคล่ เขต บางคอแหลม
02-2133027 : Mobile 01-8094260


เคซี (K.C.) ดอนเมือง ซ.สรงประภา
02-566-1294


เจริญรัถ ใกล้วงเวียนใหญ่
02-438-0776


จริญสปอร์ตคลับ ซอยอินทามาระ12 ถนนสุทธิสาร
02-616-1401-4


เจริญนคร เจริญนครซอย 10
02-861-2215-6


แบริ่ง, สนามแบดมินตัน 42/138 หมู่ที่ 3 แบริ่งซอย 9 ซอย สุขุมวิท 107
ถนน สุขุมวิท แขวง บางนา เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 10260
02-749-8228.02-7498232


แบดมินตัน 101 สุขุมวิท 101
02-331-7906-7


เพชรเกษม เพชรเกษม ซ.59
02-456-0317


C.R. Badminton เลขที่ 37 ซอยรามคำแหง 32 (ซอยข้างโรงพยาบาลรามคำแหง)
ถนน รามคำแหง หัวหมาก กรุงเทพฯ 10240
02-732-9607-8


วัน ทู เพลย์ ซอย สุขุมวิท93 (เข้าซอย สุขุมวิท97/1 ก็ได้)
02-742-5745


วิทยาลัยปกครอง อยู่ในวิทยาลัยปกครอง แถวคลอง 5 ด้านรังสิต-องครักษ์
02-502-1101


วินเนอร์ สปอร์ตคลับ ห้วยขวาง ข้างโรงเรียนจันหุ่นบำเพ็ญ ป้ายสีเหลือง ติดร้าน Kodak
02-274-2947


สโมสรหมู่บ้านสหกรณ์เคหสถาน 4 ม.สหกรณ์เคหสถาน 4 ถ.เสรีไทย คลองกุ่ม บึงกุ่ม กทม. 10240
0-23797931-2


สมเด็จสปอร์ตคลับ (SOMDEJ SPORTS CLUB) 96 สมเด็จเจ้าพระยา ซ.6 คลองสาน
02-4373811

สรรพาวุธ บางซื่อ
02-243-1061


ศรีไสว ซอยสาธุประดิษฐ์
02-672-6116


สมพงษ์ เจริญกรุง 85 ในโรงพยาบาลโรคปอด หมู่บ้านเอส.พี. การ์เด้น ฝั่งตรงข้ามเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า
02-424-3112


สวิน ชอยสุขุมวิท101/1 สวนแสนแสบ 6-8 ถ.สุขุมวิท49 แขวงครองตันเหนือ เขตวัตนา กทม.
02-2747211


สวนหลวง สุขุมวิท 77
02-331-6036-7


สวนสงบ 237 ซอยศิริ สมเด็จพระเจ้าตากสิน บุคคโล ธนบุรี กทม 10600
02-468-1316; 02-438-4755

สวนลุม สมาคมแบด
02-251-0712


สหสินแบดมินตัน 9 หมู่5 ถ.พหลโยธิน กม37.5 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
02-516-8100-1


หัวหมาก 135-7 ซ.เชื่อมสัมพันธ์ 2 รามคำแหง 58 หัวหมาก บางกะปิ กทม 10240 02-379-4092
สังข์กระจาย เพชรเกษม 4
02-466-0472


สำโรง ซ.มิตรอุดม 1
02-393-7514



--------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา / Thank :
http://www.badmintoncyber.com

--------------------------------------------------------------------------------------

Badminton Story


ประวัติดั่งเดิมตอนต้น


ประวัติของกีฬาแบดมินตันมีต้นกำเนิดที่ไม่ชัดเจน ไม่มีหลักฐานแน่ชัดถึงต้นตอแหล่งกำเนิดของ กีฬาประเภทนี้ มีแต่หลักฐานบางชิ้นชี้บ่งให้ทราบว่า กีฬาแบดมินตันมีเล่นกันประปรายในยุโรปตอน ปลายศตวรรษที่ 17 จากภาพสีน้ำมันหลายภาพได้ยืนยันว่า กีฬาแบดมินตันเล่นกันแพร่หลายในราชสำนักต่าง ๆ ของยุโรป แม้ว่าจะเรียกกันภายใต้ชื่ออื่นๆ ก็ตาม
จากหลักฐานของภาพวาดเก่า ๆ ปรากฏว่ามีการเล่นเกมในลักษณะที่คล้ายกับลูกขนไก่ในประ เทศจีนช่วงศตวรรษที่ 7 ชาวจีนนำอีแปะที่มีรู แล้วใช้ขนไก่หลายเส้นเสียบผ่านรูอีแปะสองสามอัน ให้อีแปะเป็นตัวถ่วงน้ำหนัก ใช้เชือกมัดตรงปลายเอาไว้ไม่ให้หลุด เวลาเล่นจะตั้งวง เล่นกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป หรือจะเล่นพร้อมกัน 3-4 คน ใช้เท้าเตะกันไปมาทำนองเดียวกับที่คนไทยเล่นตะกร้อล้อมวง
ในศตวรรษที่ 13 ปรากฏหลักฐานว่า ชาวอินเดียนแดงในทวีปอรือขนนก เสียบมัดติดกับก้อนกลม ให้ปลายหางของขนไก่ชี้ไปในทางเดียวกันเป็นพู่กระจายออกด้านหลัง เวลาเล่นใช้มือจับก้อนกลมแล้วปาไปยังผู้เล่นอื่น ๆ ให้ช่วยกันจับ ตลอดช่วงเวลาที่กล่าวมานี้ ยังไม่มีการใช้แร็กเกต หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ตีปะทะลูกขนไก่ แต่ใช้มือ หรืออวัยวะอื่น ๆ แทน
จนกระทั่งในศตวรรษที่ 14 ชาวญี่ปุ่นได้มีการใช้ขนไก่
เมริกาตอนใต้ ใช้หญ้าฟางพันขมวดเข้าด้วยกันจนเป็นก้อนกลม แล้วใช้ขนไก่ หหรือขนนกเสียบผูกติดกับหัวไม้ แล้วใช้ไม้แป้นที่ทำจากไม้กระดาน สลักด้วยลวดลายหรือรูปภาพ หวดเจ้าลูกขนไก่ไปมา นับว่าเป็นวิวัฒนาการในรูปลักษณ์ของการเล่นแบดมินตันที่ใกล้เคียงกับยุคปัจจุบันมากที่สุด โดยมีการใช้แร็กเกตตีลูกขนไก่แทนการใช้อวัยวะของร่างกาย
ในศตวรรษที่ 17 พระราชินีคริสตินาแห่งสวีเดนทรงแบดมินตันเป็นประจำ โดยมีไม้แร็กเกตที่จำลองมาจากแร็กเกตเทนนิส เริ่มมีลูกขนไก่ที่ใช้ขนไก่หรือขนนกผูกเสียบติดกับหัวไม้ก๊อก และปรากฏมีภาพวาดแสดงให้เห็นมกุฏราชกุมารเจ้าฟ้าชายเฟรดเดอริคแห่งเดนมาร์คในศตวรรษที่ 17 เช่นเดียวกัน ทรงแบดมินตันด้วยแร็กเกต แต่ในยุคนั้นเรียกเกมเล่นนี้ว่าแบทเทิลดอร์กับลูกขนไก่ และเกมเล่นในลักษณะเดียวกัน มีการเล่นในราชสำนักของเยอรมนีสมัยศตวรรษที่ 18 กษัตริย์ของปรัสเซียเฟรดเดอ ริคมหาราช และพระเจ้าหลานเธอเฟรดเดอริค วิลเลียมที่สอง ได้ทรงแบดมินตันอย่างสม่ำเสมอ
ประวัติของกีฬาแบดมินตันมาบันทึกกันแน่นอนและชัดเจนในปี ค.ศ. 1870 ปรากฏว่ามีเกมการเล่นกีฬาลูกขนไก่เกิดขึ้นที่เมืองปูนาในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ห่างจากใต้เมืองบอมเบย์ประมาณ 50 ไมล์ ต่อมามีนายทหารอังกฤษที่ไปประจำการอยู่ที่นั่น นำเกมการตีลูกขนไก่กลับไปเล่นในเกาะอังกฤษ และเล่นกันอย่างกว้างขวาง ณ คฤหาสน์ “แบดมินตัน” ของดยุ๊คแห่งบิวฟอร์ด ที่ตำบล กล๊อสเตอร์เชอร์ ในปี ค.ศ. 1873 เกมกีฬาตีลูกขนไก่จึงถูกเรียกว่า “แบดมินตัน” ตามชื่อของสถานที่นับตั้งแต่นั้นมา
การแพร่หลายของกีฬาแบดมินตันและการก่อตั้งสหพันธ์ฯ
กีฬาแบดมินตันเริ่มแพร่หลายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วภาคพื้นยุโรป เพราะเป็นเกมกีฬาที่มีส่วนคล้ายคลึงกับเทนนิส แต่สามารถเล่นได้ภายในตัวตึกหรือตามห้องโถงใหญ่ ๆ โดยไม่ทำให้ข้าวของแตกเสียหาย และไม่ต้องกังวลต่อกระแสลมหรือพายุหิมะที่โปรยกระหน่ำมาในช่วงฤดูหนาว ชาติมหาอำนาจจักรวรรดิ์นิยมทั้งอังกฤษและดัทช์ที่อพยพไปสู่ทวีปอเมริกา เอเชีย และออสเตรเลีย ต่างนำเอากีฬาแบดมินตันไปเล่นในประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้อาณานิคมอย่างแพร่หลาย เกมกีฬาแบดมินตันจึงถูกกระจายไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของโลกในช่วงเวลานั้น รวมทั้งประเทศไทยด้วย
มีการจัดแข่งขันชิงชนะเลิศแบดมินตันแห่งประเทศอังกฤษ หรือที่เรียกกันว่า ออล-อิงแลนด์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1889 แต่บรรยากาศของการแข่งขันออล-อิงลแนด์ในยุคต้น ๆ

ประวัติกีฬาแบดมินตันในประเทศไทย


กีฬาแบดมินตันได้แพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว มีปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนว่า ในระหว่างปี พ.ศ. 2456 พระยานิพัตกุลพงษ์ เป็นคนไทยรุ่นแรกที่สร้างสนามแบดมินตันให้ลูกหลานเล่นเป็นการออกกำลังในยามว่าง ณ บริเวณบ้านริมคลองสมเด็จเจ้าพระยา
ในเวลาต่อมา หลวงชลาไลยกล เห็นว่าแบดมินตันเป็นกีฬาที่ดี เหมาะกับคนไทย เล่นได้ทั้งชายและหญิง เด็กเล็กและผู้ใหญ่ จึงสร้างสนามเพิ่มขึ้นอีก และเล่นแบดมินตันกันเป็นประจำในหมู่ญาติมิตรที่ตำบลสมเด็จเจ้าพระยาเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ ยังปรากฏหลักฐานว่า กีฬาแบดมินตันเป็นที่นิยมเล่นกันประปรายในราชสำนักของไทยสมัย พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และสนามแบดมินตันในสมัยนั้นเป็นสนามกลางแจ้ง เวลามีลมพัดแรง หรือฝนตกก็เล่นแบดมินตันกันไม่ได้
กีฬาแบดมินตันแพร่หลายในหมู่คนไทยมากขึ้น คุณหลวงประคุณวิชาสนอง ได้จัดให้มีการแข่งขันแบดมินตันในราชวิทยาลัย แข่งขันในประเภทต่าง ๆ ต่อมาการแข่งขันได้แพร่หลายกว้างขวางออกไปอีก มีการแข่งขันประเภทสาม แข่งขันทั้งชายเภทชายสามและหญิงสาม ซึ่งถือว่าเป็นการแข่งขันประเภทที่สำคัญที่สุด และประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีการเล่นแบดมินตันประเภทสาม
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทย คือสหพันธ์รัฐมลายู สามารถเอาชนะทีมชาติของยุโรป จนได้ครองตำแหน่งแชมเปี้ยนประเภททีมชายของโลก หรือโธมัสคัพ สร้างความตื่นเต้นให้แก่ประชาชาติเอเชียอย่างยิ่ง ที่ทีมจากเอเชียสามารถแข่งกีฬาจนเอาชนะชาติใหญ่ ๆ จากชาติตะวันตกได้ ท่ามกลางกระแสดังกล่าว ไทยได้เชิญนักแบดมินตันอันดับโลกของมลายู อาทิ ว่องเปงสูน อองโปหลิม อุยเต็คฮ็อค อิสเมล บิน มาร์จัน ฯลฯ เข้ามาสาธิตการเล่นกีฬาแบดมินตันมาตรฐานสากลในประเทศไทย เริ่มมีการสร้างสนามแบดมินตันมาตรฐานในร่ม มีการปรับปรุงพัฒนาวิธีการเล่นแบดมินตันให้ดียิ่งขึ้น แต่การเล่นแบดมินตันของคนไทยส่วนใหญ่ก็ยังเล่นกันนอกร่ม ต่อมาได้มีการสร้างสนามแบดมินตันมาตรฐานสากลแห่งแรกภายในบริเวณบ้านซอยพร้อมมิตรของ หลวงธรรมนูญวุฒิกร และ นางอวยพร ปัตตพงศ์ พร้อมทั้งได้เคี่ยวเข็ญฝึกฝนลูกหลานจนกระทั่งนักแบดมินตันไทยมีมาตรฐานการเล่นก้าวเข้าสู่ระดับโลก ลูกศิษย์แบดมินตันของ คุณหลวงธรรมนูญวุฒิกร มีพื้นฐานการเล่นที่ถูกต้องแน่นแฟ้น และนำพาทีมชาติแบดมินตันโธมัสคัพไทยไปครองตำแหน่งชนะเลิศแห่งเอเชียใน ปี ค.ศ. 1957 เข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศ Inter Zone ของโลกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์กีฬาแบดมินตันของไทยใรนปี ค.ศ. 1958 ท่านทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนเช้าเย็น ส่งเสริมปลุกปั้นพัฒนานักแบดมินตันไทยหลายคน อาทิ พินิจ ปัตตพงศ์ ประเทือง ปัตตพงศ์ อัจฉรา ปัตตพงศ์ ธนู ขจัดภัย เจริญ วรรธนะสิน บุบผา แก่นทอง สงบ รัตนุสสรณ์ บัณฑิต ใจเย็น ศิลา อุเลา ฯลฯ นักกีฬาเหล่านี้ล้วนเป็นผลงานของท่านทั้งนั้น นักแบดมินตันหลายคนของท่านได้เข้าถึงรอบชิงชนะเลิศการแข่งขันออล-อิงแลนด์และครองตำแหน่งตำแหน่งชนะเลิศของโลกในการแข่งขันแบดมินตันนานาชาติจากหลายประเทศ เมื่อ หลวงธรรมนูญวุฒิกร ถึงแก่อนิจกรรม ท่านจึงได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งวงการแบดมินตันของไทย
ในปี พ.ศ. 2497 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และพระราชวงศ์จักรีชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์ ได้พระราชทานและประทานพระอุปถัมภ์แก่กีฬาแบดมินตันอย่างเข้มแข็ง ในหลวงทรงเป็นองค์อุปถัมภกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในปีเดียวกันนั้นและทรงแบดมินตันด้วยพระองค์เอง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา(พระราชศักดิ์ในสมัยนั้น)ทรงสนับสนุนทุนทรัพย์ส่งนักแบดมินตันไทยไปแข่งขัน ออล-อิงแลนด์ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501
และที่ต้องบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์สำคัญไม่เฉพาะแต่วงการแบดมินตันเท่านั้น แต่เป็นของวงการกีฬาเมืองไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระมหากรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระทานราชทุนการศึกษาส่วนพระองค์ให้แก่นักแบดมินตันทีมชาติไทย เจริญ วรรธนะสิน ไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ยังความปลาบปลื้มของวงการกีฬาไทยอย่างหาที่สุดมิได้ เพราะในยุคนั้นยังไม่มีหน่วยงานกีฬาของรัฐ
ในปีต่อ ๆ มา พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา ทรงสนับสนุนทุนทรัพย์ส่งนักแบดมินตันไทยไปแข่งขันออล-อิงแลนด์และประเทศต่าง ๆ ในยุโรป พร้อมทั้งทรงประทานกำลังใจด้วยการเสด็จทอดพระเนตรการแข่งขันอย่างใกล้ชิดทั้งในเอเชียและยุโรป ท่านพระองค์หญิงยังทรงสร้างสนามมาตรฐานขึ้นและก่อตั้งสโมสรแบดมินตันแร็กเก็ตมิวเซียมขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510
วงการแบดมินตันไทยได้พัฒนาตัวเองจนเป็นสมาคมกีฬาชั้นนำสมาคมหนึ่งของประเทศไทย เป็นสมาคมกีฬาที่ส่งนักกีฬาไปแข่งขันต่างประเทศมากที่สุดอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายสิบปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 วงการแบดมินตันเริ่มใช้แนวทางการตลาดสิทธิประโยชน์เข้ามาบริหาร เริ่มระบบการดึงผู้อุปถัมภ์รายการจากต่างประเทศเข้ามาแทนระบบบริจาคช่วยเหลือ เริ่มต้นจัดการแข่งขันกรังด์ปรีซ์เซอร์โลกที่มีเงินรางวัลนับล้านบาทตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นการพลิกโฉมวงการแบดมินตันไทยให้ก้าวทันการพัฒนาเปลี่ยนแปลงของโลก
กิจกรรมของสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จะดำเนินมาไกลถึงเพียงนี้ไม่ได้ หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากบรรดาสปอนเซอร์ต่าง ๆ ในต่างประเทศ เช่น โปร-เคนเน็ก โกเซ็น NEC ESPN ยูนิแคล และบริษัทห้างร้านภายในประเทศ เช่น ไทยออยล์ เบียร์สิงห์ เบียร์ช้าง มิตซูบิชิ และ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) ที่เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเยาวชนของชาติ ได้ให้การ
สนับสนุนการแข่งขันแบดมินตันเครือซิเมนต์ไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ปัจจุบันยังคงให้การอุปถัมภ์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการจัดการแข่งขันชิงแชมเปี้ยนแบดมินตันประเทศไทย และแบดมินตันกรังด์ปรีซ์เซอร์กิตโลก และโครงการ “ไฟแห่งพุ่มไม้เขียว” จากปี ค.ศ. 2004-2008
กีฬาแบดมินตันได้รับการบรรจุเป็นกีฬาสาธิตในโปรแกรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคเกมส์ในปี ค.ศ. 1980 ที่เมืองมิวนิค เยอรมนี แต่ไม่ได้รับการบรรจุในทันที เนื่องจากเกิดการแตกแยกในวงการแบดมินตันของโลก จนกระทั่งได้รับการบรรจุอย่างเป็นทางการในบาร์เซโลนาเกมส์ที่สเปนถึงปี ค.ศ. 1992 แบดมิน ตันได้กลายเป็นกีฬาโอลิมปิคเต็มตัวตั้งแต่นั้นมา และนักแบดมินตันไทยได้ผ่านรอบควอลิฟายคัดเลือกเข้าสู่สายใหญ่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิคทุกครั้ง ล่าสุดที่การแข่งขันครั้งที่ 28 ที่กรุงเอเธนส์ นักแบดฯ ไทยได้เข้ารอบมากถึง 8 คน ครบทุกประเภทเป็นประวัติการณ์ และบุญศักดิ์ พลสนะ ได้เข้าถึงรอบชิงรองชนะเลิศเซมิไฟแนลของประเภทชายเดี่ยว
วงการแบดมินตันไทยยังจะพัฒนาไปข้างหน้าต่อไปไม่หยุดยั้ง ตราบใดที่คนบริหารไม่นำพากีฬาแบดมินตันกลายเป็นเกมการเมือง มือสะอาด ไม่เข้ามาหาผลประโยชน์จากวงการ มีจิตวิญญาณที่รักและเห็นประโยชน์ของวงการแบดมินตันเป็นเป้าหมายสูงสุด ถ้าทำอย่างนี้ได้ ความเชื่อถือ ศรัทธา จากผู้ให้ความอุปถัมภ์ ก็จะไม่จืดจางถอยห่างจากวงการแบดมินตันอย่างแน่นอน

---------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
http://www.badmintonthai.or.th
---------------------------------------------------------------------------------------------


อ่านประวัติแล้วไม่น่าเชื่อ...สามารถพัฒนามาได้จนถึงทุกวันนี้

นักแบดไทย...สู้ๆๆๆๆๆ!!!!

X-Badminton : ว่าด้วยกีฬาแบดฯ

กติกา

ผู้เล่น บุคคลใดก็ตามที่เล่นแบดมินตัน แมทช์ การแข่งขันแบดมินตันระหว่างฝ่ายตรงข้ามฝ่ายละ 1 หรือ 2 คน เดี่ยว การแข่งขันที่มีผู้เล่นฝ่ายละ 1 คน คู่ การแข่งขันที่มีผู้เล่นฝ่ายละ 2 คน ฝ่ายส่งลูก ฝ่ายที่มีสิทธิ์ส่งลูก ฝ่ายรับลูก ฝ่ายตรงข้ามกับฝ่ายส่งลูก การตีโต้ เป็นลำดับของการตีหนึ่งครั้งหรือมากกว่าหนึ่งครั้งจนกว่าจะมีการยุติการตี


1. สนามและอุปกรณ์สนาม






1.1 สนามจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าประกอบด้วยเส้นกว้างขนาด 40 มม. ตามภาพ
1.2 เส้นทุกเส้นต้องเด่นชัด และควรทาด้วยสีขาวหรือสีเหลือง

1.3 เส้นทุกเส้นเป็นส่วนประกอบของพื้นที่ซึ่งกำหนดไว้

1.4 เสาตาข่ายจะต้องสูง 1.55 เมตรจากพื้นสนาม และตั้งตรงเมื่อขึงตาข่ายให้ตึงตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 1.10 โดยที่จะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของเสายื่นเข้ามาในสนาม (เฉพาะรายการที่รับรองโดย IBF จะต้องใช้
ระเบียบนี้ จนกระทั่ง 1 สิงหาคม 2547 ทุกรายการที่แข่งขันจะต้องยึดตามระเบียบนี้)

1.5 เสาตาข่ายจะต้องตั้งอยู่บนเส้นเขตข้างของประเภทคู่ตามที่ได้แสดงไว้ในภาพผัง ก. โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็น
ประเภทเดี่ยวหรือเล่นคู่

1.6 ตาข่ายจะต้องถักด้วยเส้นด้ายสีเข้ม และมีขนาดตากว้างไม่น้อยกว่า 15 มม. และไม่เกิน 20 มม.

1.7 ตาข่ายต้องมีความกว้าง 760 มม. และความยาวอย่างน้อย 6.1 เมตร

1.8 ขอบบนของตาข่ายต้องมีแถบผ้าสีขาวพับสอง ขนาดกว้าง 75 มม. ทับบนเชือกหรือลวดที่ร้อยตลอดแถบผ้าขาว

1.9 เชือกหรือลวดต้องมีขนาดพอที่จะขึงให้ตึงเต็มที่กับหัวเสา

1.10 สุดขอบบนตาข่ายต้องสูงจากพื้นที่ตรงกึ่งกลางสนาม 1.524 เมตร และ 1.55 เมตร เหนือเส้นเขตข้างของ
ประเภทคู่

1.11 ต้องไม่มีช่องว่างระหว่างสุดปลายตาข่ายกับเสา ถ้าจำเป็น ต้องผูกร้อยปลายตาข่ายทั้งหมดกับเสา


2. ลูกขนไก่

2.1 ลูกขนไก่อาจทำจากวัสดุธรรมชาติ และ/หรือ วัสดุสังเคราะห์ ไม่ว่าลูกนั้นจะทำจากวัสดุชนิดใดก็ตาม ลักษณะ
วิถีวิ่งทั่วไป จะต้องเหมือนกับลูกซึ่งทำจากขนธรรมชาติ ฐานเป็นหัวไม้ก๊อก หุ้มด้วยหนังบาง

2.2 ลูกขนไก่ต้องมีขน 16 อัน ปักอยู่บนฐาน

2.3 วัดจากปลายขนถึงปลายสุดของฐาน โดยความยาวของขนในแต่ละลูกจะเท่ากันหมด ระหว่าง 62 มม. ถึง 70 มม.

2.4 ปลายขนแผ่เป็นรูปวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 58 มม. ถึง 68 มม.

2.5 ขนต้องมัดให้แน่นด้วยเส้นด้ายหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม

2.6 ฐานของลูกต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มม. ถึง 28 มม. และส่วนล่างมนกลม

2.7 ลูกขนไก่จะมีน้ำหนักตั้งแต่ 4.74 ถึง 5.50 กรัม

2.8 ลูกขนไก่ที่ไม่ใช้ขนธรรมชาติ

2.8.1 ใช้วัสดุสังเคราะห์แทนขนธรรมชาติ

2.8.2 ฐานลูก ดังที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 2.6

2.8.3 ขนาดและน้ำหนักของลูกต้องเป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 2.3, 2.4 และ 2.7 อย่างไรก็ตาม ความ
แตกต่างของความถ่วงจำเพาะ และคุณสมบัติของวัสดุสังเคราะห์โดยการเปรียบเทียบกับขนธรรมชาติ ยอมให้มีความ แตกต่างได้ถึง 10%

2.9 เนื่องจากมิได้กำหนดความแตกต่างในเรื่องลักษณะทั่วไป ความเร็วและวิถีวิ่งของลูกอาจมีการเปลี่ยนแปลง
คุณลักษณะดังกล่าวข้างต้นได้โดยการอนุมัติ จาก องค์กรแห่งชาติที่เกี่ยวข้องในที่ซึ่งสภาพความกดอากาศสูงหรือ
สภาพดินฟ้าอากาศ เป็นเหตุให้ลูกขนไก่ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เหมาะสม


3. การทดสอบความเร็วของลูก

3.1 การทดสอบ ให้ยืนหลังเส้นเขตหลังแล้วตีลูกใต้มืออย่างสุดแรง โดยจุดสัมผัสลูกอยู่เหนือเส้นเขตหลัง ลูกจะพุ่ง เป็นมุมสูง และอยู่ในแนวขนานกับเส้นเขตข้าง
3.2 ลูกที่มีความเร็วถูกต้อง จะตกห่างจากเส้นเขตหลังของอีกด้านหนึ่งไม่น้อยกว่า 530 มม. และไม่มากกว่า 990
มม. ตามภาพ
4. แร๊กเกต

4.1 เฟรมของแร็กเกตยาวทั้งหมดไม่เกิน 680 มม. และกว้างทั้งหมดไม่เกิน 230 มม. ส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญได้อธิบาย
ไว้ในกติกาข้อ 4.1.1 ถึง 4.1.5 และได้แสดงไว้ในตามภาพ


4.1.1 ด้านจับ เป็นส่วนของแร๊กเกตที่ผู้เล่นใช้จับ
4.1.2 พื้นที่ขึงเอ็น เป็นส่วนของแร็กเกตที่ผู้เล่นใช้ตีลูก
4.1.3 หัว บริเวณที่ใช้ขึงเอ็น
4.1.4 ก้าน ต่อจากด้ามจับถึงหัว (ขึ้นอยู่กับกติกาข้อ 4.1.5)
4.1.5 คอ (ถ้ามี) ต่อก้านกับขอบหัวตอนล่าง

4.2 พื้นที่ขึงเอ็น
4.2.1 พื้นที่ขึงเอ็นต้องแบนราบ ด้วยการร้อยเอ็นเส้นขวางขัดกับเส้นยืนแบบการขึงเอ็นทั่วไป โดยพื้นที่ตอนกลาง
ไม่ควรทึบน้อยกว่าตอนอื่น ๆ และ
4.2.2 พื้นที่ขึงเอ็นต้องยาวทั้งหมดไม่เกิน 280 มม. และกว้างทั้งหมดไม่เกิน 220 มม. อย่างไรก็ตามอาจขึงไปถึง คอเฟรม หากความกว้างที่เพิ่มของพื้นที่ขึงเอ็นนั้นไม่เกิน 35 มม. และความยาวทั้งหมดของพื้นที่ขึงเอ็นต้องไม่เกิน 330 มม.
4.3 แร๊กเกต
4.3.1 ต้องปราศจากวัตถุอื่นติดอยู่ หรือยื่นออกมา ยกเว้นจากส่วนที่ทำเพื่อจำกัดและป้องกันการสึกหรอ ชำรุดเสีย
หาย การสั่นสะเทือน การกระจายน้ำหนัก หรือการพันด้ามจับให้กระชับมือผู้เล่น และมีความเหมาะสมทั้งขนาดและ การติดตั้งสำหรับวัตถุประสงค์ดังกล่าว และ
4.3.2 ต้องปราศจากสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ ที่ช่วยให้ผู้เล่นเปลี่ยนรูปทรงของแร็กเกต


5. การยอมรับอุปกรณ์

สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ จะกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับปัญหาของแร็กเกต ลูกขนไก่ หรืออุปกรณ์ต้นแบบ ซึ่งใช้
ในการเล่นแบดมินตันให้เป็นไปตามข้อกำหนดต่าง ๆ กฏเกณฑ์ดังกล่าวอาจเป็นการริเริ่มของสหพันธ์เองหรือจากการ ยื่นความจำนงของคณะบุคคล ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอย่างแท้จริงกับผู้เล่น ผู้ผลิต หรือองค์กรแห่งชาติหรือ สมาชิกขององค์กรนั้น ๆ
6. การเสี่ยง

6.1 ก่อนเริ่มเล่น จะต้องทำการเสียง ฝ่ายที่ชนะการเสียง มีสิทธิ์เลือกตามกติกาข้อ 6.1.1 หรือ 6.1.2 6.1.1 ส่งลูกหรือรับลูกก่อน
6.1.2 เริ่มเล่นจากสนามข้างใดข้างหนึ่ง
6.2 ฝ่ายที่แพ้การเสี่ยง มีสิทธิ์ที่เหลือจากการเลือก


7. ระบบการนับคะแนน

7.1 แมทช์หนึ่งต้องชนะให้ได้มากที่สุดใน 3 เกม เว้นแต่จะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น
7.2 ในประเภทชายคู่และประเภทชายเดี่ยว ฝ่ายที่ได้ 15 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 7.5
7.3 ในประเภทหญิงเดี่ยว หญิงคู่ คู่ผสม ฝ่ายที่ได้ 11 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 7.5
7.4 ฝ่ายส่งลูกเท่านั้น เป็นฝ่ายได้คะแนน (ดูกติกาข้อ 10.3 หรือ 11.5)
7.5 ถ้าได้ 14 คะแนนเท่ากัน (10 คะแนนเท่ากันในประเภทหญิงเดี่ยว หญิงคู่ คู่ผสม) ฝ่ายที่ได้ 14 (10) คะแนนก่อน มีสิทธิ์เลือกในกติกาข้อ 7.5.1 หรือ 7.5.2:-
7.5.1 ต่อเกมนั้นถึง 15 (11) คะแนน กล่าวคือ “ไม่เล่นต่อ” ในเกมนั้น หรือ 7.5.2
7.5.2 “เล่นต่อ” เกมนั้นถึง 17 (13) คะแนน 7.6 ฝ่ายชนะ เป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเกมต่อไป

8. การเปลี่ยนข้าง

8.1 ผู้เล่นจะเปลี่ยนข้าง:-
8.1.1 หลังจากจบเกมที่ 1
8.1.2 ก่อนเริ่มเล่นเกมที่ 3 (ถ้ามี) และ
8.1.3 ในเกมที่ 3 หรือในการแข่งขันเกมเดียว เมื่อคะแนนนำถึง - 6 คะแนน สำหรับเกม 11 คะแนน - 8 คะแนน สำหรับเกม 15 คะแนน
8.2 ถ้าผู้เล่นลืมเปลี่ยนข้างตามที่ได้ระบุไว้ในกติกาข้อ 8.1 ผู้เล่นต้องเปลี่ยนข้างทันทีที่รู้ตัวและลูกไม่อยู่ในการเล่น
และให้นับนับคะแนนต่อจากคะแนนที่ได้ในขณะนั้น



9.การส่งลูก

9.1 ในการส่งลูกที่ถูกต้อง
9.1.1 ทั้งสองฝ่ายต้องไม่ประวิงเวลาให้เกิดความล่าช้าในการส่งลูกทันทีที่ผู้ส่งลูก และผู้รับลูกอยู่ในท่าพร้อมแล้ว
9.12 ผู้ส่งลูกและผู้รับลูก ต้องยืนในสนามส่งลูกทะแยงมุมตรงข้ามโดยเท้าไม่เหยียบเส้นเขตของสนามส่งลูก 9.13 บางส่วนของเท้าทั้งสองของผู้ส่งลูกและผู้รับลูก ต้องแตะพื้นสนามในท่านิ่งตั้งแต่เริ่มส่งลูก (กติกาข้อ 9.4) จนกระทั่งส่งลูกแล้ว (กติกาข้อ 9.5)
9.14 จุดสัมผัสแรกของแร็กเกตผู้ส่งต้องตีที่ฐานของลูก
9.15 ทุกส่วนของลูกจะต้องอยู่ต่ำกว่าเอวของผู้ส่ง ขณะที่แร็กเกตสัมผัสลูก
9.16 ก้านแร็กเกตของผู้ส่งลูกในขณะตีลูก ต้องชี้ลงต่ำจนเห็นได้ชัดว่า ส่วนหัวทั้งหมดของแร็กเกตอยู่ต่ำกว่าทุก
ส่วนของมือที่จับแร็กเกตของผู้ส่งลูก
9.17 การเคลื่อนแร็กเกตของผู้ส่งลูกไปข้างหน้า ต้องต่อเนื่องจากการเริ่มส่งลูก (กติกาข้อ 9.4) จนกระทั่งได้ส่งลูก
แล้ว และ
9.18 วิถีลูกจะพุ่งขึ้นจากแร็กเกตของผู้ส่งลูกข้ามตาข่าย และถ้าปราศจากการสะกัดกั้น ลูกจะตกลงบนพื้นสนามส่ง
ลูกของผู้รับลูก (กล่าวคือ บนหรือภายในเส้นเขต)
9.2 ถ้าการส่งลูกไม่ถูกต้อง ตามกติกาของข้อ 9.1.1 ถึง 9.1.8 ถือว่าฝ่ายทำผิด “เสีย” (กติกาข้อ 13)

9.3 ถือว่า “เสีย” ถ้าผู้ส่งลูกพยายามจะส่งลูก โดยตีไม่ถูกลูก
9.4 เมื่อผู้เล่นอยู่ในท่าพร้อมแล้ว การเคลื่อนแร็กเกตไปข้างหน้าของผู้ส่งลูกถือว่า เริ่มส่งลูก
9.5 ถือว่าได้ส่งลูกแล้ว (กติกาข้อ 9.4) ถ้าแร็กเกตของผู้ส่งสัมผัสลูกหรือพยายามจะส่งลูกแต่ตีไม่ถูกลูก
9.6 ผู้ส่งลูกจะส่งลูกไม่ได้ถ้าผู้รับลูกยังไม่พร้อม แต่ถือว่าผู้รับลูกพร้อมแล้วถ้าพยายามตีลูกที่ส่งมากลับไป 9.7 ในประเภทคู่ คู่ขาจะยืน ณ ที่ใดก็ได้ โดยไม่บังผู้ส่งลูกและผู้รับลูก

10. ประเภทเดี่ยว


10.1 สนามส่งลูกและรับลูก
10.1.1 ผู้เล่นจะส่งลูกและรับลูกในสนามส่งลูกด้านขวา เมื่อผู้ส่งลูกทำคะแนนไม่ได้ หรือคะแนนที่ได้เป็นเลขคู่ใน
เกมนั้น
10.1.2 ผู้เล่นจะส่งลูกและรับลูกในสนามส่งลูกด้านซ้าย เมื่อผู้ส่งลูกได้คะแนนเป็นเลขคี่ในเกมนั้น 10.2 ผู้ส่งลูกและรับลูกจะตีโต้ลูกจนกว่าจะเกิด “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น 10.3 คะแนนและการส่งลูก 10.3.1 ถ้าผู้รับทำ “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเพราะตกลงบนพื้นสนามของผู้รับ ผู้ส่งลูกได้คะแนน ผู้ส่งจะได้ส่ง
ลูกต่อไปในสนามส่งอีกด้านหนึ่ง 10.3.2 ถ้าผู้ส่งทำ “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเพราะตกลงบนพื้นสนามของผู้ส่ง ผู้ส่งหมดสิทธิ์การส่งลูก และผู้
รับก็จะได้เป็นผู้ส่งลูก โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ได้คะแนน


11.ประเภทคู่

11.1 เมื่อเริ่มเล่นแต่ละครั้ง ฝ่ายที่ได้สิทธิ์ส่ง ต้องเริ่มส่งจากสนามส่งลูกด้านขวา
11.2 ผู้รับลูกเท่านั้นเป็นผู้ตีลูกกลับไป ถ้าลูกถูกตัว หรือคู่ขาของผู้รับตีลูก ถือว่า “เสีย” ผู้ส่งลูกได้ 1 คะแนน
11.3 ลำดับการเล่นและตำแหน่งยืนในสนาม
11.3.1 หลังจากได้รับลูกที่ส่งมาแล้ว ผู้เล่นของฝ่ายส่งคนหนึ่งคนใดตีลูกกลับไป และผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่าย
รับโต้ลูกกลับมา เป็นอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่า ลูกไม่อยู่ในการเล่น
11.3.2 หลังจากได้รับลูกที่ส่งมาแล้ว ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดจะตีโต้ลูกจากที่ใดก็ได้ภายในสนามของตนโดยมีตาข่ายกั้น

11.4 สนามส่งลูกและรับลูก
11.4.1 ผู้เล่นมีสิทธิ์ส่งตอนเริ่มต้นของแต่ละเกม จะส่งหรือรับลูกในสนามส่งด้านขวา เมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้นไม่ได้คะแนน
หรือคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคู่ และในสนามส่งลูกด้านซ้ายเมื่อคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคี่

11.4.2 ผู้เล่นที่เป็นผู้รับตอนเริ่มต้นของแต่ละเกม จะรับหรือส่งลูกในสนามส่งลูกด้านขวา เมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้นไม่ได้คะแนน หรือคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคู่ และในสนามส่งลูกด้านซ้าย เมื่อคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคี่

11.4.3 ให้คู่ขาของผู้เล่นปฏิบัติในทางกลับกัน
11.5 คะแนนและการส่งลูก
11.5.1 ถ้าฝ่ายรับทำ “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น เพราะลูกตกลงบนพื้นสนามของฝ่ายรับ ฝ่ายส่งได้ 1 คะแนน และผู้ส่งยังคงได้ส่งลูกต่ออีก
11.5.2 ถ้าฝ่ายส่งทำ “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น เพราะลูกตกลงบนพื้นสนามของฝ่ายส่ง ผู้ส่งหมดสิทธิ์ส่งลูก โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ได้คะแนน
11.6 การส่งลูกทุกครั้ง ต้องส่งจากสนามส่งลูก สลับกันไป ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 12 และ ข้อ 14
11.7 ในการเริ่มต้นเกมใดก็ตาม ผู้มีสิทธิ์ส่งลูกคนแรก ส่งลูกจากสนามด้านขวาไปยังผู้รับลูกคนแรกและจากนั้นไปยัง คู่ขาของผู้รับตามลำดับไป จนกระทั่งเสียสิทธิ์และเปลี่ยนส่งไปให้ฝ่ายตรงข้ามที่จะต้องเริ่มส่งจากสนามด้านขวา (กติกาข้อ 11.4) จากนั้นจะให้คู่ขาส่ง จะเป็นเช่นนี้ตลอดไป
11.8 ห้ามผู้เล่นส่งลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้ส่ง หรือรับลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้รับ หรือรับลูกติดต่อกันสองครั้งในเกมเดียวกัน ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 12 และ 14
11.9 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายชนะ จะเป็นผู้ส่งลูกก่อนในเกมต่อไปก็ได้ และผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายแพ้จะ เป็นผู้รับลูกก่อนก็ได้


12. ความผิดในสนามส่งลูก

12.1 ความผิดในสนามส่งลูกเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่น
12.1.1 ส่งลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้ส่ง
12.1.2 ส่งลูกจากสนามส่งลูกที่ผิด หรือ
12.1.3 ยืนผิดสนามและได้เตรียมพร้อมที่จะรับลูกที่ส่งมา
12.2 ถ้าพบความผิดในสนามส่งลูกก่อนส่งลูกครั้งต่อไป
12.2.1 หากฝ่ายหนึ่งทำผิดและชนะในการตีโต้ ให้ “เอาใหม่”
12.2.2 หากฝ่ายหนึ่งทำผิดและแพ้ในการตีโต้ ไม่มีการแก้ไขความผิด
12.2.3 หากทั้งสองฝ่ายทำความผิดด้วยกัน ให้ “เอาใหม่”
12.3 ถ้ามีการ “เอาใหม่” เพราะความผิดในสนามส่งลูก ให้เล่นใหม่พร้อมกับแก้ไข
12.4 ถ้าพบความผิดในสนามส่งลูกหลังจากได้ส่งลูกครั้งต่อไปแล้ว จะไม่มีการแก้ไขความผิดนั้น ให้เล่นต่อไปโดย ไม่มีการเปลี่ยนสนามส่งลูกใหม่ของผู้เล่น (หรือให้เปลี่ยนลำดับใหม่ของการส่งลูกในกรณีเดียวกัน)


13. การทำเสีย

13.1 ถ้าการส่งลูกไม่ถูกต้อง (กติกาข้อ 9.1) หรือตามกติกาข้อ 9.3 หรือ 11.2 13.2 ถ้าในขณะเล่น ลูกขนไก
13.2.1 ตกลงบนพื้นนอกเส้นเขตสนาม (กล่าวคือ ไม่อยู่บนหรือภายในเส้นเขตสนาม) 13.2.2 ลอดผ่านหรือลอดใต้ตาข่าย
13.2.3 ไม่ข้ามตาข่าย
13.2.4 ถูกเพดาน หรือ ฝาผนัง

13.2.5 ถูกตัวผู้เล่น หรือเครื่องแต่งกายผู้เล่น
13.2.6 ถูกวัตถุหรือตัวบุคคลภายนอกที่อยู่ใกล้เคียงล้อมรอบสนาม (ในกรณีที่มีความจำเป็นเกี่ยวกับโครงสร้างของ
ตัวอาคารผู้มีอำนาจเกี่ยวกับแบดมินตันท้องถิ่น อาจวางกฎเพิ่มเติมเกี่ยวกับลูกถูกสิ่งกีดขวางได้ ทั้งนี้ ย่อมแล้วแต่สิทธิความเห็นชอบของภาคี สมาชิก)
13.3 ถ้าในระหว่างการเล่น ผู้เล่นตีลูกก่อนที่ลูกข้ามตาข่ายมาในเขตสนามของตัวเอง (อย่างไรก็ดี ผู้ตีอาจใช้แร็กเกตตามลูกข้ามตาข่ายในระหว่างตีลูก)
13.4 ถ้าลูกอยู่ในระหว่างการเล่น ผู้เล่น
13.4.1 ถูกตาข่ายหรืออุปกรณ์ที่ขึง ด้วยแร็กเกต ด้วยตัว หรือด้วยเครื่องแต่งกาย
13.4.2 ล้ำบนตาข่ายเข้าไปในเขตสนามของคู่ต่อสู้ ด้วยแร็กเกต ด้วยตัว ยกเว้นตามที่ได้รับอนุญาตไว้ในกติกาข้อ 13.3
13.4.3 ล้ำใต้ตาข่ายเข้าไปในเขตสนามของคู่ต่อสู้ด้วยแร็กเกต หรือด้วยตัว จนเป็นการกีดขวางหรือทำลายสมาธิคู่ ต่อสู้
13.4.4 กีดขวางคู่ต่อสู้ กล่าวคือ กันไม่ให้คู่ต่อสู้ตีลูกที่ข้ามตาข่ายมาอย่างถูกต้องตามกติกา
13.5 ถ้าในระหว่างการเล่น ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดจงใจทำลายสมาธิคู่ต่อสู้ด้วยการกระทำต่าง ๆ เช่น ร้องตะโกนหรือแสดงท่าทาง
13.6 ถ้าระหว่างการเล่น ลูกขนไก่
13.6.1 ติดอยู่ในแร็กเกต แล้วถูกเหวี่ยงออกไปในระหว่างตีลูก
13.6.2 ถูกตีสองครั้งติดต่อกัน โดยผู้เล่นคนเดียวกัน
13.6.3 ถูกตีโดยผู้เล่นคนหนึ่ง และคู่ขาของผู้เล่นคนนั้นติดต่อกัน หรือ
13.6.4 ถูกแร็กเกตของผู้เล่นคนหนึ่ง แล้วลอยไปทางท้ายสนามด้านหลังของผู้เล่นคนนั้น
13.7 ถ้าผู้เล่นทำผิดอย่างโจ่งแจ้ง ซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือผิดพลาดอยู่ตลอด ตามกติกาข้อ
16 13.8 ถ้าหลังจากส่งลูกแล้วลูกไปติดและค้างอยู่บนตาข่าย หรือลูกข้ามตาข่ายแล้วติดค้างอยู่ในตาข่าย


14. การ "เอาใหม่"

14.1 การ “เอาใหม่” จะขานโดยกรรมการผู้ตัดสิน หรือ โดยผู้เล่น (ถ้าไม่มีกรรมการผู้ตัดสิน) ขานให้หยุดเล่น
14.1.1 ให้ "เอาใหม่" ถ้าผู้ส่งลูก ส่งลูกโดยที่ผู้รับลูกยังไม่พร้อม (ดูกติกาข้อ 9.6)
14.1.2 ให้ "เอาใหม"” ถ้าในระหว่างการส่งลูก ผู้รับและผู้ส่งลูกทำ “เสีย” พร้อมกันทั้งสองฝ่ายในเวลาเดียวกัน
14.1.3 ให้ "เอาใหม" ถ้าลูกไปติดและค้างอยู่บนตาข่าย หรือลูกข้ามตาข่ายแล้วติดค้างอยู่ในตาข่ายยกเว้นในการ ส่งลูก
14.1.4 ให้ "เอาใหม่" ถ้าในระหว่างการเล่น ลูกขนไก่แตกแยกออกเป็นส่วน ๆ และฐานแยกออกจากส่วนที่เหลือ ของลูกโดยสิ้นเชิง
14.1.5 ให้ "เอาใหม" ถ้ากรรมการกำกับเส้นมองไม่เห็น และกรรมการผู้ตัดสินไม่สามารถตัดสินใจได้ 14.1.6 การ “เอาใหม่” สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดในสนามส่งลูก ตามที่ระบุในกติกาข้อ 12.2.1 หรือ 12.2.3 หรือ
14.1.7 ให้ “เอาใหม่” สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมาก่อน หรือโดยเหตุบังเอิญ
14.2 เมื่อมีการ “เอาใหม่” การเล่นหลังจากการส่งลูกครั้งสุดท้ายถือเป็นโมฆะ และผู้เล่นที่ส่งลูกจะได้ส่งลูกอีกครั้งหนึ่ง ยกเว้นหากเป็นไปตามกติกาข้อ 12

15. ลูกไม่อยู่ในการเล่น ลูกไม่อยู่ในการเล่น เมื่อ
15.1 ลูกชนตาข่ายแล้วติดอยู่ที่ตาข่าย หรือค้างอยู่บนขอบตาข่าย
15.2 ลูกชนตาข่ายหรือเสาตาข่ายแล้วตกลงบนพื้นสนามในด้านของผู้ตีลูก
15.3 ลูกถูกพื้นสนาม หรือ
15.4 เกิดการ “เสีย” หรือการ "เอาใหม่"

16. การเล่นต่อเนื่อง, การทำผิด, การลงโทษ

16.1 การเล่นต้องต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มส่งลูกครั้งแรกจนสิ้นสุดการแข่งขัน ยกเว้นตามที่ได้อนุญาตไว้ในกติกาข้อ 16.2 และ 16.3
16.2 พักระหว่างการจบเกมที่ 1 และเริ่มเกมที่ 2 ได้ไม่เกิน 90 วินาที และไม่เกิน 5 นาที ระหว่างจบเกมที่ 2 และเริ่มเกมที่ 3 อนุญาตสำหรับทุกแมทช์ของการแข่งขัน (ในการแข่งขันที่มีการถ่ายทอดโทรทัศน์ กรรมการผู้ชี้ขาดอาจตัดสินใจก่อนเริ่มการแข่งขันว่า การพักตามกติกาข้อ 16.2 อยู่ในอาณัติและเวลากำหนด)
16.3 พักการเล่น เมื่อมีความจำเป็นจากสภาพแวดล้อมที่มิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เล่น กรรมการผู้ตัดสินอาจสั่งให้พักการเล่น
ชั่วคราวตามที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็น ภายใต้สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่ผิดปกติ กรรมการผู้ชี้ขาดอาจแนะนำให้กรรมการผู้ตัดสินพักการเล่น
16.3.1 เมื่อมีความจำเป็นจากสภาพแวดล้อมที่มิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เล่น กรรมการผู้ตัดสินอาจสั่งให้พัก การเล่นชั่วคราวตามที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็น
16.3.2 ภายใต้สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่ผิดปกติ กรรมการผู้ชี้ขาดอาจแนะนำให้กรรมการผู้ตัดสินพักการเล่น
16.3.3 ถ้ามีการพักการเล่น คะแนนที่ได้จะอยู่คงเดิม และจะเริ่มใหม่จากคะแนนนั้น 16.4 การถ่วงเวลาการเล่น
16.4.1 ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น ห้ามถ่วงเวลาการเล่นเพื่อให้ผู้เล่นฟื้นคืนกำลัง หรือหายเหนื่อย
16.4.2 กรรมการผู้ตัดสินจะวินิจฉัยความล่าช้าแต่เพียงผู้เดียว
16.5 คำแนะนำและการออกนอกสนาม
16.5.1 ห้ามผู้เล่นรับคำแนะนำระหว่างการแข่งขัน ยกเว้นการพักตามกติกาข้อ 16.2 และ 16.3
16.5.2 ห้ามผู้เล่นเดินออกนอกสนามระหว่างการแข่งขันโดยมิได้รับอนุญาตจากกรรมการผู้ตัดสิน ยกเว้นระหว่างพัก 5 นาที ตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 16.2
16.6 ผู้เล่นต้องไม่ จงใจถ่วงเวลา หรือพักการเล่น จงใจแปลงหรือทำลายลูกเพื่อเปลี่ยนความเร็วและวิถี แสดงกิริยาก้าวร้าว หรือ กระทำผิดนอกเหนือกติกา
16.7 กรรมการผู้ตัดสินจะต้องดำเนินการกับความผิดตามกติกาข้อ 16.4, 16.5 หรือ 16.6 โดย

16.7.1 เตือนผู้กระทำผิด
16.7.2 ตัดสิทธิ์ผู้กระทำผิดหลังจากได้เตือนก่อนแล้ว
16.7.3 ในกรณีผิดอย่างเห็นได้ชัด หรือผิดอยู่ตลอด ให้ตัดสิทธิ์ผู้กระทำผิด แล้วรายงานให้กรรมการผู้ชี้ขาดทราบ
ทันที ซึ่งกรรมการผู้ชี้ขาดมีอำนาจสั่งให้ผู้กระทำผิดออกจากการแข่งขัน

17. กรรมการสนามและการอุทธรณ์

17.1 กรรมการผู้ชี้ขาดเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการแข่งขันทั้งหมด
17.2 หากมีการแต่งตั้ง กรรมการผู้ตัดสิน ให้มีหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน สนาม และบริเวณโดยรอบสนามแข่งขัน กรรมการผู้ตัดสินต้องรายงานต่อกรรมการผู้ชี้ขาด
17.3 กรรมการกำกับการส่งลูกเป็นผู้ขาน “เสีย” สำหรับการส่งลูกที่ผู้ส่งลูกเป็นผู้กระทำผิด (กติกาข้อ 9)
17.4 กรรมการกำกับเส้นเป็นผู้ให้สัญญาณ “ดี” หรือ “ออก” ในเส้นเขตที่ได้รับมอบหมาย
17.5 การตัดสินใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทั้งหมดของกรรมการสนามที่รับผิดชอบถือว่าสิ้นสุด
17.6 กรรมการผู้ตัดสินจะต้อง
17.6.1 ควบคุมการแข่งขันให้ดำเนินไปภายใต้กฏกติกาอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาน “เสีย” หรือ “เอาใหม่” เมื่อมีกรณีเกิดขึ้น
17.6.2 ตัดสินคำอุทธรณ์เกี่ยวกับการโต้แย้ง ซึ่งมีขึ้นก่อนการส่งลูกครั้งต่อไป
17.6.3 แน่ใจว่า ผู้เล่นและผู้ชมได้ทราบถึงความคืบหน้าของการแข่งขัน
17.6.4 แต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการกำกับเส้น หรือกรรมการกำกับการส่งลูก หลังจากได้ปรึกษากับกรรมการผู้ชี้ขาดแล้ว
17.6.5 หากไม่มีการแต่งตั้งกรรมการสนามอื่น จะต้องปฏิบัติหน้าที่นั้นให้เรียบร้อย
17.6.6 หากกรรมการสนามที่ได้รับการแต่งตั้งมองไม่เห็น ต้องดำเนินการในหน้าที่ของกรรมการนั้น หรือให้ "เอาใหม่"
17.6.7 บันทึกและรายงานต่อกรรมการผู้ชี้ขาดทุกเรื่องที่เกี่ยวกับกติกาข้อ 16 และ
17.6.8 เสนอคำอุทธรณ์ที่ไม่พึงพอใจในปัญหาเกี่ยวกับกติกาต่อกรรมการผู้ชี้ขาด (คำอุทธรณ์ดังกล่าว จะต้อง
เสนอก่อนการส่งลูกครั้งต่อไป หรือเมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลงก่อนที่ฝ่ายอุทธรณ์จะเดินออกจากสนาม)
---------------------------------------------------------------------------------------------

ที่มา : สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

---------------------------------------------------------------------------------------------

Xctivity_Blog

ที่มาของบลอค
เกิดจากความชอบที่จะไม่อยู่นิ่งๆของผม ที่มักจะหากิจกรรมมันส์ๆบ้าๆบอๆทำอยู่เสมอๆ ก็เลยเกิดความคิดที่จะทำบลอคนี้ขึ้นเผื่อเพื่อนๆ คนไหนสนใจ เข้ามาอ่านและอยากทำอยากบ้าไปด้วยกัน ลองเสนอมานะครับ เด๋วผมไปรวมๆมาให้...ขอขอบคุณเวปต่างๆที่ผมได้ไปดูดมาใส่บลอคของตัวเองไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ อิอิ